32879 จำนวนผู้เข้าชม |
เคลือบแก้วกราฟีน และเคลือบแก้วเซรามิก ต่างกันที่สารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิต
เคลือบแก้วเซรามิค หรือเคลือบแก้วคริสตัลคือ
การใช้สารที่ใช้ในการผลิตแก้วที่เราเรียกกันว่าสารซิลิก้าไดออกไซ์ หรือ SiO2 มาใช้ในการผลิตน้ำยาแก้วเคลือบบนผิวสีรถ
ส่วนเคลือบแก้วกราฟีนคือ
การนำสารในกลุ่มกราไฟต์ที่สังเกราะห์มาเป็นกราฟีน มาเป็นส่วนผสมในการผลิต ทำให้เคลือบแก้วกราฟีนนั้นมีคุณสมบัติที่เหนือขึ้น และดีกว่าเคลือบแก้วเซรามิกในหลายๆด้าน ดังต่อไปนี้
เคลือบแก้วกราฟีนจะให้ความเงา ทีมีลักษณะออกฉ่ำวาว ทำให้สีรถดูมีมิติ โดดเด่น สามารถเห็นถึงความเงาชัดเจน ในขณะที่เซรามิกที่มีเบสสารมาจากซิลิก้าจะให้ความเงาออกใส แวว ความเงาใบรูปแบบของกราฟีนจึงทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนมากกว่านั้นเอง
เคลือบแก้วกราฟีนจะมีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศสูง ทนต่อการชะล้าง ทนต่อความร้อนสูง มีค่าการต่อต้านสารเคมีต่างๆ (Chemical Resistant) มากกว่าสารซิลิก้าและเซรามิก รวมถึงค่าความแข็ง (Hardness of Mohs scale) เคลือบแก้วกราฟีนสามารถให้ค่าความแข็งที่สูงมากกว่า 10H (Above 10H) ซึ่งได้รับการ รับรองโดยสถาบันระดับโลกอย่าง SGS (Standard Global Services) แต่กลับมีความยืดหยุ่นและบางกว่าสารซิลิก้าหรือเซรามิก
นอกจากนี้ด้วยการเรียงตัวของโมเลกุลของกราฟีนแบบแปดเหลี่ยม ทำให้องศาความนูนของหยดน้ำของเคลือบแก้วกราฟีน นูนกว่าการเคลือบแก้วเซรามิคอย่างเห็นได้ชัดเจน หรือที่เรียกว่า Super Hydrophobic หากนึกภาพตามง่ายๆ เหมือนหยดน้ำกลิ้งบนใบบอนเพราะฉนั้นแล้ว สิ่งสกปรกหรือคราบต่างๆก็จะเกาะหรือเข้าทำลายสีรถได้ยากขึ้นมาก ทำให้การดูแลและการล้างรถได้สาะอาดง่ายขึ้น
และอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่มีความแตกต่ากกันคือเคลือบแก้วกราฟีนมีความเสถียรในการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานน้ำยาเคลือบแก้วกราฟีนได้ง่ายกว่าในสมัยก่อนๆมาก น้ำยาจะไม่แห้งหรือแข็งตัวเร็ว และด้วยอะตอมที่บางมากและมีความยืดหยุ่นศึงจึงทำให้เคลือบแก้วกราฟีนไม่มีปัญหาเรื่องการแตกร่อน เคลือบแก้วกราฟีนจึกถูกขนามนาฝงมว่าเคลือบแก้วแห่งอนาคต
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้บริโภคเข้าใจผิดมากที่สุดคือ เคลือบแก้วแล้วรถจะไม่เป็นรอย 100% หรือไม่มีอะไรที่จะมากัดหรือทำลายสีรถได้ เคลือบแก้วแล้วไม่ต้องล้างรถอีกต่อไป เป็นความเข้าใจที่ผิด ให้นึกภาพการเคลือบแก้วให้กับรถเปรียบเสมือนเราใส่เสื้อเกราะกันกระสุน หากเราถูกยิงเสื้อเกราะเป็นรอย แต่เราไม่ไม่เป็นอันตราย